นอนอย่างไรให้หน้าเด็ก?

การนอนทำให้หน้าเด็กลงได้จริงหรือ?

นอนดึก นอนผิดเวลา ทำให้หน้าแก่ อ้วนง่าย ลงพุง โรคภัย และตัวเตี้ย

การนอนถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อการฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล แถมยังช่วยให้หน้าเด็กและลดความเครียดได้ดีอีกด้วย

ในสภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนและอดนอน ร่างกายจะเกิดความเครียดขึ้นมาทั้งแบบภายในและภายนอก จนทำให้เกิดเป็นความเครียดสะสมเรื้อรังได้ มาเช็คลิสต์กันดีกว่าว่าคุณเคยพบเจอกับอาการดังกล่าวเหล่านี้กันบ้างไหม?

คุณเคยมีอาการเหล่านี้บ้างมั้ย?

  1. เครียดโดยไม่ทราบสาเหตุ
  2. อยากทานของหวาน น้ำหวาน ตลอดเวลา
  3. หลับยาก
  4. หลับไม่สนิท
  5. หลับไม่ค่อยลึก
  6. ไม่ค่อยอยากลุกจากที่นอนในตอนเช้า
  7. มีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน
  8. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงตามตัวเป็นประจำ
  9. มีความเครียดสะสมระหว่างวัน
  10. เป็นโรคกระเพาะ
  11. อ้วนง่าย ลงพุง

การอดนอนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

ความเครียดจากภายใน

  • ส่งผลต่อระบบสมอง
  • การอักเสบในร่างกาย 
  • เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือด และเบาหวาน 

ความเครียดจากภายนอก

  • นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
  • หน้าเหี่ยว แก่ ไม่สดใส อมทุกข์ ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง
  • ปวดเมื่อยได้ง่าย ร่างกายเกิดการหดเกร็งโดยไม่รู้ตัว
  • ขี้โมโห ขี้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนและเหวี่ยงวีนได้ง่าย 
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • กินเก่ง
  • ท้องผูก
  • เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
  • ปวดหัว
  • เคลื่อนไส้อาเจียน

การนอนผิดเวลา จะทำให้ฮอร์โมนเมลาโทนินมีปัญหา และโกร๊ทฮอร์โมน
ไม่หลั่งในเวลาที่ควรจะหลั่ง

เด็กที่ชอบนอนดึก โตขึ้นมาร่างกายก็จะเตี้ย แคระแกร็น ไม่สูง เกิดจากการหลั่งของโกร๊ทฮอร์โมนที่น้อยกว่าปกติ

เด็กวัดความสูง, นอนดึกทำให้เตี้ย

นอนให้มีคุณภาพทำอย่างไร?

  • ไม่ควรนอนเกิน 4 ทุ่ม 
  • นอนหลับให้สนิท ไม่ตื่นกลางดึก ไม่งัวเงียระหว่างตื่นนอน
  • จัดห้องนอนให้อยู่ในความมืดสนิท อย่าให้มีแสงรบวนเวลานอน 
  • หลีกเลี่ยงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ประเภท ทีวี โทรศัพท์ หรือปิดมือถือระหว่างนอน
  • จัดบรรยากาศของห้องให้น่าพักผ่อน

วงจรของการนอนเป็นอย่างไร?

การนอนของคนเรา จะอยู่ประมาณ 4-6 Cycles ต่อคืน แบ่งเป็น

1.REM (Rapid Eye Movement) ระยะหลับตื้น มีการฝัน อาการลูกตาเคลื่อนไหว กรอกตาไปมา

2.NON-REM (NonRapid Eye Movement) ไม่มีอาการเคลื่อนไหวของลูกตา

กินระยะเวลา 1-2 ชม. แบ่งเป็น 4 ระยะ

  • ระยะ 1 และ ระยะ 2 หลับๆ ตื่นๆ ปลุกง่าย
  • ระยะ 3 และ ระยะ 4 หลับลึก ปลุกยาก

ฮอร์โมนเมลาโทนิน?

Melatonin เมลาโทนินคืออะไร?

เมลาโทนิน คือฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการหลับ เป็นสารที่หลั่งจากต่อมไพเนียล (Pineal) ที่อยู่ในสมอง โดยทำงานสัมพันธ์กับการมองเห็นของดวงตา ในช่วงเวลากลางวันแสงจะมีความเข้มข้นสูง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีพลังงานที่สูงมาก แต่จะลดลงเมื่อถึงเวลากลางคืน ความเข้มข้นของแสงในเวลากลางวันและกลางคืน จะกระตุ้นให้ต่อมไพเนียล หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมา

ฮอร์โมนเมลาโทนินจะหลั่งออกมามากสุด ตอนช่วงประมาณ 2-4 ทุ่ม ร่างกายจะรู้สึกง่วง แต่คนส่วนใหญ่ในเมือง จะไม่ค่อยอยากนอน เพราะแสงไฟในเวลากลางคืน และความเครียดส่วนตัวของแต่ละบุคคล

ฮอร์โมนเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญมาก เปรียบเสมือน เครื่องดนตรีชิ้นแรกในวงออร์เคสตรา ที่เริ่มต้นบรรเลงก่อน และตามด้วยโกร๊ทฮอร์โมนและฮอร์โมนอื่นๆ ตามมา

หน้าที่ของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin)

มีบทบาทที่สำคัญ 3 หน้าที่

1.ช่วยควบคุมการหลับการตื่น
2.ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
3.เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

เมลาโทนินแบบไหนที่เหมาะกับเรา?

1. แบบอมใต้ลิ้น 

  • ออกฤทธิ์เร็ว 
  • แต่ระยะเวลาสั้นกว่า 
  • ออกฤทธิ์ 10-15 นาที 
  • อยู่ได้ประมาณ 2-4 ชม.

2. แบบทาน 

  • ออกฤทธิ์ช้ากว่าแบบอมใต้ลิ้น 
  • แต่อยู่ได้นานกว่า 
  • ออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชม. 
  • ออกฤทธิ์นานประมาณ 6-7 ชั่วโมง 
เมลาโทนิน จะออกฤทธิ์ได้ดี ก็ต่อเมื่อร่างกายเข้าสู่โหมดของการเตรียมพร้อมที่จะนอนแล้วเท่านั้น!

หลายๆ ท่านมีความเชื่อว่า เมลาโทนินออกฤทธิ์เหมือนยานอนหลับ จึงคาดหวังประสิทธิภาพว่าจะช่วยให้นอนหลับได้เลย หากคุณยังไม่ยอมเข้านอน ลุกขึ้นไปทำงาน เล่นมือถือ เล่นเกมส์ ก็จะทำให้เมลาโทนินนั้นออกฤทธิ์ได้ไม่ดีด้วยเช่นกัน

สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงเกินไป (ในช่วงเวลาตอนกลางคืน) การทานเมลาโทนินนั้นจะตอบสนองการทำงานได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับบางรายที่มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) ที่สูงเกินไป ควรไปรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า ให้หายเป็นปกติเสียก่อน มิเช่นนั้นการทานเมลาโทนินก็จะไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่นั่นเอง

Growth Hormone ฮอร์โมนแห่งความหนุ่มสาว

โกร๊ทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า มีหน้าที่ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย และจะหลั่งมากสูงสุดที่สุดในชีวิต คือช่วงอายุประมาณ 10-20 ปี

มีบทบาทที่สำคัญ 3 หน้าที่

1.ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์
2.ช่วยสลายไขมัน
3.กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ

โกร๊ทฮอร์โมน จะหลั่งมากที่สุดในช่วงตอนนอน หลังจากหลับสนิท หรือหลับลึกไปแล้ว โดยจะออกฤทธิ์สูงสุดคือช่วงเวลาตอนเที่ยงคืนถึงตีหนึ่ง และหลั่งอีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ตอนตีสี่ถึงหกโมงเช้า ดังนั้นคนที่นอนหลับไม่เป็นเวลา นอนดึก จะทำให้โกร๊ทฮอร์โมนไม่หลั่ง จนทำให้มีปัญหาหน้าแก่ก่อนวัย

นอนอย่างไรให้หน้าเด็ก?

  • เข้านอนก่อนสี่ทุ่ม 
  • นอนให้เป็นเวลา
  • ออกกำลังกายให้หนักและหักโหม เพื่อกระตุ้นโกร๊ทฮอร์โมน (ไม่เหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคต่อมหมวกไตล้า adrenal fatigue) เพราะจะทำให้ร่างกายยิ่งดึงพลังงานไปจากร่างกาย ทำให้อ่อนล้า และมีความเครียดมากกว่าเดิม
  • ทาน ผัก ผลไม้ สด หรืออาหารออร์แกนิค
  • มีความเครียดเล็กน้อย (ช่วยกระตุ้นโกร๊ทฮอร์โมนได้เป็นอย่างดี)
  • อดอาหารเย็น (ร่างกายเกิดความเครียดเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายไปกระตุ้นโกร๊ทฮอร์โมน)
  • เสริมฮอร์โมนธรรมชาติ หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของมวลกล้ามเนื้อ เช่น ฮอร์โมนเพศต่างๆ ประเภทเทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน ชนิดทา การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ หรือเมลาโทนิน
  • ทาครีมบำรุงผิวหน้า

ขอขอบคุณหลักสูตร สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti Aging)

Latest

ใครมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามิน?

การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอได้จริงหรือ? ความเชื่อที่ว่าการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอ คำถามคือเรารู้จริงๆ หรือว่าอาหารดังกล่าวที่เราทานเข้าไปนั้น...

อาหารเสริมแตกต่างจากสมุนไพรและยาอย่างไร?

"อาหารเสริม ไม่ใช่ วิตามิน" "วิตามิน ก็ไม่ใช่ "ยา" แต่ "สมุนไพร...

ทานไขมันอย่างไรให้แข็งแรง?

เราควรเลือกรับประทานอาหารประเภทกรดไขมันอย่างไร ให้สุขภาพดีเหมาะกับชีวิตประจำวัน? โครงสร้างกรดไขมัน แบบอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว กรดไขมันมีกี่ประเภท? อาหารประเภทไขมัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทของไขมัน (หน่วยย่อยที่สำคัญ)1.คอเลสเตอรอลกรดไขมันในเลือด2.ไตรกลีเซอร์ไรด์ (มักอยู่ในรูปแบบไขมันหรือน้ำมัน)...

Newsletter

[tds_leads input_placeholder="Email address" btn_horiz_align="content-horiz-center" pp_msg="SSd2ZSUyMHJlYWQlMjBhbmQlMjBhY2NlcHQlMjB0aGUlMjAlM0NhJTIwaHJlZiUzRCUyMiUyMyUyMiUzRVByaXZhY3klMjBQb2xpY3klM0MlMkZhJTNFLg==" msg_composer="" display="column" gap="10" input_padd="eyJhbGwiOiIxM3B4IDEwcHgiLCJsYW5kc2NhcGUiOiIxMnB4IDhweCIsInBvcnRyYWl0IjoiMTBweCA2cHgifQ==" input_border="1" btn_text="I want in" btn_icon_size="eyJhbGwiOiIxOSIsImxhbmRzY2FwZSI6IjE3IiwicG9ydHJhaXQiOiIxNSJ9" btn_icon_space="eyJhbGwiOiI1IiwicG9ydHJhaXQiOiIzIn0=" btn_radius="0" input_radius="0" f_msg_font_family="file_1" f_msg_font_size="eyJhbGwiOiIxMiIsInBvcnRyYWl0IjoiMTIifQ==" f_msg_font_weight="400" f_msg_font_line_height="1.4" f_input_font_family="file_1" f_input_font_size="eyJhbGwiOiIxMyIsImxhbmRzY2FwZSI6IjEzIiwicG9ydHJhaXQiOiIxMiJ9" f_input_font_line_height="1.2" f_btn_font_family="831" f_input_font_weight="400" f_btn_font_size="eyJhbGwiOiIxMiIsImxhbmRzY2FwZSI6IjEyIiwicG9ydHJhaXQiOiIxMSJ9" f_btn_font_line_height="1.2" f_btn_font_weight="400" pp_check_color="#000000" pp_check_color_a="var(--center-demo-1)" pp_check_color_a_h="var(--center-demo-2)" f_btn_font_transform="uppercase" tdc_css="eyJhbGwiOnsibWFyZ2luLWJvdHRvbSI6IjQwIiwiZGlzcGxheSI6IiJ9LCJwb3J0cmFpdCI6eyJtYXJnaW4tYm90dG9tIjoiMzAiLCJkaXNwbGF5IjoiIn0sInBvcnRyYWl0X21heF93aWR0aCI6MTAxOCwicG9ydHJhaXRfbWluX3dpZHRoIjo3Njh9" btn_bg="var(--center-demo-1)" btn_bg_h="var(--center-demo-2)" title_space="eyJwb3J0cmFpdCI6IjEyIiwibGFuZHNjYXBlIjoiMTQiLCJhbGwiOiIxOCJ9" msg_space="eyJsYW5kc2NhcGUiOiIwIDAgMTJweCJ9" btn_padd="eyJsYW5kc2NhcGUiOiIxMiIsInBvcnRyYWl0IjoiMTBweCIsImFsbCI6IjE3cHgifQ==" msg_padd="eyJwb3J0cmFpdCI6IjZweCAxMHB4In0=" msg_err_radius="0" msg_succ_bg="var(--center-demo-1)" msg_succ_radius="0" f_msg_font_spacing="0.5"]

Don't miss

ใครมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามิน?

การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอได้จริงหรือ? ความเชื่อที่ว่าการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอ คำถามคือเรารู้จริงๆ หรือว่าอาหารดังกล่าวที่เราทานเข้าไปนั้น...

อาหารเสริมแตกต่างจากสมุนไพรและยาอย่างไร?

"อาหารเสริม ไม่ใช่ วิตามิน" "วิตามิน ก็ไม่ใช่ "ยา" แต่ "สมุนไพร...

ทานไขมันอย่างไรให้แข็งแรง?

เราควรเลือกรับประทานอาหารประเภทกรดไขมันอย่างไร ให้สุขภาพดีเหมาะกับชีวิตประจำวัน? โครงสร้างกรดไขมัน แบบอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว กรดไขมันมีกี่ประเภท? อาหารประเภทไขมัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทของไขมัน (หน่วยย่อยที่สำคัญ)1.คอเลสเตอรอลกรดไขมันในเลือด2.ไตรกลีเซอร์ไรด์ (มักอยู่ในรูปแบบไขมันหรือน้ำมัน)...

สุขภาพดีเทียบได้จากอะไร?

คุณอยากมีสุขภาพแบบไหนระหว่าง.. แบบคนรวย แบบคนฐานะปานกลาง แบบคนจน แน่นอนเป็นใครก็ต้องอยากรวยกันทั้งนั้น ว่าแต่ว่าสถานภาพทางการเงินมาเกี่ยวข้องกันได้ยังไงกับเรื่องของสุขภาพ? สุขภาพดีเทียบจากอะไร? มีที่มาจากไหน? จากแนวความคิดของเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เปรียบเทียบโดยวัดจากเกณฑ์รายรับประชากรกับการตรวจสุขภาพกับแพทย์แผนปัจจุบัน จากแผนภาพประกอบ อธิบายได้ว่า1. Optimal Level (เกณฑ์...

ใครมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามิน?

การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอได้จริงหรือ? ความเชื่อที่ว่าการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอ คำถามคือเรารู้จริงๆ หรือว่าอาหารดังกล่าวที่เราทานเข้าไปนั้น มีวิตามินชนิดใดอยู่ในนั้นบ้าง? ยังมีวิตามินอีกหลากหลายชนิดที่ไม่ได้มาจากอาหาร อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป (Processed Foods) เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม โบโลน่า อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง เค้ก ผลไม้แห้ง เนื้อสัตว์ หรือแม้แต่ผักผลไม้ต่างๆ...

อาหารเสริมแตกต่างจากสมุนไพรและยาอย่างไร?

"อาหารเสริม ไม่ใช่ วิตามิน" "วิตามิน ก็ไม่ใช่ "ยา" แต่ "สมุนไพร คือ ยา" และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? อาหารเสริมช่วยป้องกันโรค ชะลอวัย แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อรักษาโรค ทำไมหลายๆ ท่าน จึงเชื่อว่า อาหารเสริมคือ ยาวิเศษ เพราะในปัจจุบัน อาหารเสริมถูกโฆษณาให้เป็นยา แต่จริง ๆ แล้ว อาหารเสริมนั้น ไม่ใช่...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

Index