ใครมีความเสี่ยงที่จะขาดวิตามิน?

สารบัญ

การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอได้จริงหรือ?

ความเชื่อที่ว่าการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอ คำถามคือเรารู้จริงๆ หรือว่าอาหารดังกล่าวที่เราทานเข้าไปนั้น มีวิตามินชนิดใดอยู่ในนั้นบ้าง?

ยังมีวิตามินอีกหลากหลายชนิดที่ไม่ได้มาจากอาหาร

อาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป (Processed Foods) เช่น ไส้กรอก เบคอน แฮม โบโลน่า อาหารแช่แข็ง อาหารกระป๋อง เค้ก ผลไม้แห้ง เนื้อสัตว์ หรือแม้แต่ผักผลไม้ต่างๆ ที่เราเห็นว่ามีประโยชน์ สิ่งเหล่านี้ล้วนแต่มีสารพิษ และโลหะหนักตกค้างอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะบอกว่า การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะทำให้เราได้รับปริมาณของวิตามินที่เพียงพอในชีวิตประจำวัน

เราจะเป็นเช่นไร หากไม่ได้รับวิตามินที่เพียงพอในแต่ละวัน?

ในทุกๆ วัน ร่างกายของเราจะมีเซลล์ที่ตายและเกิดขึ้นใหม่ทดแทนเซลล์ที่ตายไปแล้วอยู่ตลอดเวลา หากเซลล์ที่เกิดขึ้นมาอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีก็จะทำให้เซลล์นั้น เป็นเซลล์ที่ดีมีคุณภาพ วิตามินจึงมีความสำคัญต่อการทำงานในทุกๆ ระบบของร่างกาย และไม่สามารถสร้างขึ้นมาได้เอง

ดังนั้นเราต้องแน่ใจว่า ร่างกายของเราจะมีปริมาณของวิตามินที่เพียงพอในร่างกายอยู่ตลอดเวลา ไม่เช่นนั้นแล้วเซลล์ของเราจะเสื่อมสภาพได้ในที่สุด

ใครคือผู้ที่มีความเสี่ยงในการขาดวิตามิน?

  • ผู้ที่ไม่เคยโดนแสงแดดเลย หรือใช้ครีมกันแดดก่อนออกแดดเป็นประจำ  (จะขาด วิตามินดี และแคลเซียม)
  • ผู้ที่ทานผักในปริมาณน้อย (จะขาดกรดโฟลิค และ วิตามินบี 12)
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน (จะขาดวิตามินบี 1, บี 6, และ บี 12)
  • สตรีมีครรภ์ (จะขาดกรดโฟลิค น้ำมันปลา และซีลีเนียม)
  • ผู้ที่ไม่ทานอาหารทะเล (จะขาด น้ำมันปลา และไอโอดีน)
  • ผู้ที่ทานยาลดไขมัน (จะขาดโคเอนไซม์ คิวเทน)
  • ผู้ที่ทานเหล้า (จะขาด วิตามินบี)
  • ผู้ที่เล็บเปราะง่าย ผมร่วงง่าย (จะขาด ไบโอติน)
  • ผู้ที่ผิวหนังแห้ง (จะขาด วิตามินอี)
  • ผู้ที่เลือดออกตามไรฟัน (จะขาด วิตามินซี)
  • ผู้ที่เป็นปากนกกระจอก (จะขาด วิตามินบี 2)
  • ผู้ที่ตาบอดกลางคืน (จะขาด วิตามินเอ)
  • ผู้ที่อ่อนเพลีย เหน็บชาง่าย (จะขาด วิตามินบี 1)
  • ผู้ที่เป็นตะคริว (จะขาด แมกนีเซียม)

เราได้รับวิตามินเพียงพอจากการทานอาหาร 5 หมู่ และบริโภค 3 มื้อ ได้จริงหรือไม่?

RDA (Recommended Dietary Allowances) หรือเรียกอีกชื่อว่า RDI
คือปริมาณสารอาหารขั้นต่ำสุดที่เราควรได้รับต่อวัน

ในความเป็นจริงแล้ว…
ร่างกายมีความต้องการสารอาหารที่มากกว่าปริมาณที่แนะนำเป็นอย่างมาก

สาเหตุที่เราขาดวิตามิน

  • วิตามินแต่ละชนิด มีอยู่ในอาหารที่หลากหลายกันไปตามแต่ละประเภท เป็นเรื่องยากจะที่ทานให้ครบได้ในทุกวัน
  • วิตามินบางชนิดไม่ได้มากจากอาหาร เช่น วิตามินดี มาจากแสงแดด ส่วนวิตามินเค มาจากจุลินทรีย์ในลำไส้
  • อาหารที่ผ่านการหุงต้มด้วยความร้อนสูง จะทำให้ขาดวิตามิน
  • ผู้สูงอายุ มักชอบทานแป้ง และไม่สามารถทานผักสดได้
  • มีความเชื่อที่ผิด เกี่ยวกับการรับประทานไข่แดงในผู้สูงอายุ จึงทำให้ผู้สูงอายุขาดวิตามินมากยิ่งขึ้น ซึ่งจริงๆ แล้ว วิตามินที่ครบถ้วน มีอยู่ในไข่แดง

ข้อแนะนำในการทานวิตามิน หรืออาหารเสริม

วิตามินที่ละลายในไขมัน

  • เช่น วิตามินเอ ดี อี และ เค (ADEK), ไลโปอิก แอซิด (Lipoic Acid), โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10) และน้ำมันปลา (Fish Oil)
  • ควรทานพร้อมมื้ออาหารหรือหลังอาหารที่มีไขมัน

วิตามินที่ละลายในน้ำ

  • เช่น วิตามินบี และ ซี (B, C)
  • สามารถทานตอนท้องว่างได้ แต่ควรทานพร้อมมื้ออาหารจะดีกว่า เพราะจะทำให้ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร

วิตามินที่ดูดซึมได้น้อย

  • เช่น กลูโคซามีน เภสัชกรจะแนะนำให้ทานก่อนอาหารเพื่อการดูดซึมที่ดี
  • แต่หากเป็นโรคกระเพาะ สามารถรับประทานหลังอาหารได้เลยทันที

วิตามินและอาหารเสริมที่ทำให้ร่างกายตื่นตัวและสดชื่น

  • เช่น วิตามินบีรวม, โคเอนไซม์ คิวเทน (Coenzyme Q10), ไทโรซีน (Tyrosine), รังนก
  • ควรรับประทานหลังอาหารเช้า เพื่อความสดชื่นและกระปรี้กระเปร่า

วิตามินที่ทำให้ง่วง

  • เช่น วิตามินบี 6 (B6), เมลาโทนิน (Melatonin), วิตามินอี โทโคไตรอีนอล (Vitamin E Tocotrienols), ทริพโตเฟน (Tryptophan)
  • ควรรับประทานหลังอาหารเย็น และไม่ควรขับขี่ยานพาหนะในขณะที่ง่วง เพราะจะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้

การทานวิตามินปลอดภัยหรือไม่?

  • วิตามินไม่ใช่ยา ไม่ได้มีผลข้างเคียง ทานมากก็ได้ผลดีมาก แต่ก็เสียเงินมากขึ้นด้วยเช่นกัน

ขนาดสูงสุดที่แนะนำให้ควรทานวิตามินหรืออาหารเสริมต่อวัน

แอสต้าแซนทีน

  • สามารถทานได้ตั้งแต่ 4, 8 หรือ 16 มิลลิกรัม
  • หากทานในปริมาณที่สูง ก็จะทำให้เสียเงินมากขึ้น
  • ทานพร้อมมื้ออาหาร

วิตามินซี

  • สามารถทานได้ตั้งแต่ 500 หรือ 1000 มิลลิกรัม หากมีปริมาณสูงกว่านี้ก็อาจจะทำให้เกิดอาการระคายกระเพาะได้
  • ทานตอนท้องว่างได้ แต่ควรทานพร้อมมื้ออาหารจะดีกว่า เพราะจะทำให้ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร

วิตามินดี

  • มีขนาด 1,000 2,000, 5,000 จนถึง 10,000 ไอยู
  • เพื่อให้ทราบถึงระดับของวิตามินดี ควรตรวจดูค่าระดับวิตามินดีในเลือดก่อนทาน เพื่อให้ได้รับปริมาณที่เหมาะสม
  • ทานพร้อมมื้ออาหาร

ซีลีเนียม

  • มีขนาด 70 และ 200 ไมโครกรัม
  • ห้ามทานเกิน 400 ไมโครกรัม เพราะจะทำให้เกิดพิษกับร่างกาย
  • ทานพร้อมมื้ออาหาร

เมลาโทนิน

  • มีตั้งแต่ขนาด 0.5 – 10 มิลลิกรัม
  • ขนาดที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับความง่วงของแต่ละบุคคลสำหรับในรายที่ไม่เคยทาน ควรเริ่มที่ 1-1.5 มิลลิกรัม
  • ทานก่อนนอน ประมาณ 30 – 45 นาที

ขอขอบคุณหลักสูตร สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti Aging)

Latest

นอนอย่างไรให้หน้าเด็ก?

การนอนทำให้หน้าเด็กลงได้จริงหรือ? นอนดึก นอนผิดเวลา ทำให้หน้าแก่ อ้วนง่าย ลงพุง โรคภัย และตัวเตี้ย การนอนถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อการฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล...

อาหารเสริมแตกต่างจากสมุนไพรและยาอย่างไร?

"อาหารเสริม ไม่ใช่ วิตามิน" "วิตามิน ก็ไม่ใช่ "ยา" แต่ "สมุนไพร...

ทานไขมันอย่างไรให้แข็งแรง?

เราควรเลือกรับประทานอาหารประเภทกรดไขมันอย่างไร ให้สุขภาพดีเหมาะกับชีวิตประจำวัน? โครงสร้างกรดไขมัน แบบอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว กรดไขมันมีกี่ประเภท? อาหารประเภทไขมัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทของไขมัน (หน่วยย่อยที่สำคัญ)1.คอเลสเตอรอลกรดไขมันในเลือด2.ไตรกลีเซอร์ไรด์ (มักอยู่ในรูปแบบไขมันหรือน้ำมัน)...

Newsletter

[tds_leads input_placeholder="Email address" btn_horiz_align="content-horiz-center" pp_msg="SSd2ZSUyMHJlYWQlMjBhbmQlMjBhY2NlcHQlMjB0aGUlMjAlM0NhJTIwaHJlZiUzRCUyMiUyMyUyMiUzRVByaXZhY3klMjBQb2xpY3klM0MlMkZhJTNFLg==" msg_composer="" display="column" gap="10" input_padd="eyJhbGwiOiIxM3B4IDEwcHgiLCJsYW5kc2NhcGUiOiIxMnB4IDhweCIsInBvcnRyYWl0IjoiMTBweCA2cHgifQ==" input_border="1" btn_text="I want in" btn_icon_size="eyJhbGwiOiIxOSIsImxhbmRzY2FwZSI6IjE3IiwicG9ydHJhaXQiOiIxNSJ9" btn_icon_space="eyJhbGwiOiI1IiwicG9ydHJhaXQiOiIzIn0=" btn_radius="0" input_radius="0" f_msg_font_family="file_1" f_msg_font_size="eyJhbGwiOiIxMiIsInBvcnRyYWl0IjoiMTIifQ==" f_msg_font_weight="400" f_msg_font_line_height="1.4" f_input_font_family="file_1" f_input_font_size="eyJhbGwiOiIxMyIsImxhbmRzY2FwZSI6IjEzIiwicG9ydHJhaXQiOiIxMiJ9" f_input_font_line_height="1.2" f_btn_font_family="831" f_input_font_weight="400" f_btn_font_size="eyJhbGwiOiIxMiIsImxhbmRzY2FwZSI6IjEyIiwicG9ydHJhaXQiOiIxMSJ9" f_btn_font_line_height="1.2" f_btn_font_weight="400" pp_check_color="#000000" pp_check_color_a="var(--center-demo-1)" pp_check_color_a_h="var(--center-demo-2)" f_btn_font_transform="uppercase" tdc_css="eyJhbGwiOnsibWFyZ2luLWJvdHRvbSI6IjQwIiwiZGlzcGxheSI6IiJ9LCJwb3J0cmFpdCI6eyJtYXJnaW4tYm90dG9tIjoiMzAiLCJkaXNwbGF5IjoiIn0sInBvcnRyYWl0X21heF93aWR0aCI6MTAxOCwicG9ydHJhaXRfbWluX3dpZHRoIjo3Njh9" btn_bg="var(--center-demo-1)" btn_bg_h="var(--center-demo-2)" title_space="eyJwb3J0cmFpdCI6IjEyIiwibGFuZHNjYXBlIjoiMTQiLCJhbGwiOiIxOCJ9" msg_space="eyJsYW5kc2NhcGUiOiIwIDAgMTJweCJ9" btn_padd="eyJsYW5kc2NhcGUiOiIxMiIsInBvcnRyYWl0IjoiMTBweCIsImFsbCI6IjE3cHgifQ==" msg_padd="eyJwb3J0cmFpdCI6IjZweCAxMHB4In0=" msg_err_radius="0" msg_succ_bg="var(--center-demo-1)" msg_succ_radius="0" f_msg_font_spacing="0.5"]

Don't miss

นอนอย่างไรให้หน้าเด็ก?

การนอนทำให้หน้าเด็กลงได้จริงหรือ? นอนดึก นอนผิดเวลา ทำให้หน้าแก่ อ้วนง่าย ลงพุง โรคภัย และตัวเตี้ย การนอนถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อการฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล...

อาหารเสริมแตกต่างจากสมุนไพรและยาอย่างไร?

"อาหารเสริม ไม่ใช่ วิตามิน" "วิตามิน ก็ไม่ใช่ "ยา" แต่ "สมุนไพร...

ทานไขมันอย่างไรให้แข็งแรง?

เราควรเลือกรับประทานอาหารประเภทกรดไขมันอย่างไร ให้สุขภาพดีเหมาะกับชีวิตประจำวัน? โครงสร้างกรดไขมัน แบบอิ่มตัว และไม่อิ่มตัว กรดไขมันมีกี่ประเภท? อาหารประเภทไขมัน แบ่งเป็น 2 ประเภท ประเภทของไขมัน (หน่วยย่อยที่สำคัญ)1.คอเลสเตอรอลกรดไขมันในเลือด2.ไตรกลีเซอร์ไรด์ (มักอยู่ในรูปแบบไขมันหรือน้ำมัน)...

สุขภาพดีเทียบได้จากอะไร?

คุณอยากมีสุขภาพแบบไหนระหว่าง.. แบบคนรวย แบบคนฐานะปานกลาง แบบคนจน แน่นอนเป็นใครก็ต้องอยากรวยกันทั้งนั้น ว่าแต่ว่าสถานภาพทางการเงินมาเกี่ยวข้องกันได้ยังไงกับเรื่องของสุขภาพ? สุขภาพดีเทียบจากอะไร? มีที่มาจากไหน? จากแนวความคิดของเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ เปรียบเทียบโดยวัดจากเกณฑ์รายรับประชากรกับการตรวจสุขภาพกับแพทย์แผนปัจจุบัน จากแผนภาพประกอบ อธิบายได้ว่า1. Optimal Level (เกณฑ์...

นอนอย่างไรให้หน้าเด็ก?

การนอนทำให้หน้าเด็กลงได้จริงหรือ? นอนดึก นอนผิดเวลา ทำให้หน้าแก่ อ้วนง่าย ลงพุง โรคภัย และตัวเตี้ย การนอนถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อการฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล แถมยังช่วยให้หน้าเด็กและลดความเครียดได้ดีอีกด้วย ในสภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนและอดนอน ร่างกายจะเกิดความเครียดขึ้นมาทั้งแบบภายในและภายนอก จนทำให้เกิดเป็นความเครียดสะสมเรื้อรังได้ มาเช็คลิสต์กันดีกว่าว่าคุณเคยพบเจอกับอาการดังกล่าวเหล่านี้กันบ้างไหม? คุณเคยมีอาการเหล่านี้บ้างมั้ย? เครียดโดยไม่ทราบสาเหตุ อยากทานของหวาน น้ำหวาน ตลอดเวลา หลับยาก หลับไม่สนิท หลับไม่ค่อยลึก ไม่ค่อยอยากลุกจากที่นอนในตอนเช้า มีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงตามตัวเป็นประจำ มีความเครียดสะสมระหว่างวัน เป็นโรคกระเพาะ อ้วนง่าย ลงพุง การอดนอนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร? ความเครียดจากภายใน ส่งผลต่อระบบสมอง การอักเสบในร่างกาย  เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือด และเบาหวาน  ความเครียดจากภายนอก นอนไม่หลับ นอนหลับยาก หน้าเหี่ยว แก่ ไม่สดใส...

อาหารเสริมแตกต่างจากสมุนไพรและยาอย่างไร?

"อาหารเสริม ไม่ใช่ วิตามิน" "วิตามิน ก็ไม่ใช่ "ยา" แต่ "สมุนไพร คือ ยา" และทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? อาหารเสริมช่วยป้องกันโรค ชะลอวัย แต่ไม่ได้มีไว้เพื่อรักษาโรค ทำไมหลายๆ ท่าน จึงเชื่อว่า อาหารเสริมคือ ยาวิเศษ เพราะในปัจจุบัน อาหารเสริมถูกโฆษณาให้เป็นยา แต่จริง ๆ แล้ว อาหารเสริมนั้น ไม่ใช่...

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

สารบัญ

Index