สารบัญ
การนอนทำให้หน้าเด็กลงได้จริงหรือ?
นอนดึก นอนผิดเวลา ทำให้หน้าแก่ อ้วนง่าย ลงพุง โรคภัย และตัวเตี้ย
การนอนถือเป็นปัจจัยหลักที่มีความสำคัญต่อการฟื้นฟู และซ่อมแซมเซลล์ในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและสมดุล แถมยังช่วยให้หน้าเด็กและลดความเครียดได้ดีอีกด้วย
ในสภาวะที่ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนและอดนอน ร่างกายจะเกิดความเครียดขึ้นมาทั้งแบบภายในและภายนอก จนทำให้เกิดเป็นความเครียดสะสมเรื้อรังได้ มาเช็คลิสต์กันดีกว่าว่าคุณเคยพบเจอกับอาการดังกล่าวเหล่านี้กันบ้างไหม?
คุณเคยมีอาการเหล่านี้บ้างมั้ย?
- เครียดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- อยากทานของหวาน น้ำหวาน ตลอดเวลา
- หลับยาก
- หลับไม่สนิท
- หลับไม่ค่อยลึก
- ไม่ค่อยอยากลุกจากที่นอนในตอนเช้า
- มีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน
- ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ตึงตามตัวเป็นประจำ
- มีความเครียดสะสมระหว่างวัน
- เป็นโรคกระเพาะ
- อ้วนง่าย ลงพุง
การอดนอนส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?
ความเครียดจากภายใน
- ส่งผลต่อระบบสมอง
- การอักเสบในร่างกาย
- เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ หลอดเลือด และเบาหวาน
ความเครียดจากภายนอก
- นอนไม่หลับ นอนหลับยาก
- หน้าเหี่ยว แก่ ไม่สดใส อมทุกข์ ผิวพรรณไม่เปล่งปลั่ง
- ปวดเมื่อยได้ง่าย ร่างกายเกิดการหดเกร็งโดยไม่รู้ตัว
- ขี้โมโห ขี้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนและเหวี่ยงวีนได้ง่าย
- อ่อนเพลีย
- เบื่ออาหาร
- กินเก่ง
- ท้องผูก
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ปวดหัว
- เคลื่อนไส้อาเจียน
การนอนผิดเวลา จะทำให้ฮอร์โมนเมลาโทนินมีปัญหา และโกร๊ทฮอร์โมน
ไม่หลั่งในเวลาที่ควรจะหลั่ง
เด็กที่ชอบนอนดึก โตขึ้นมาร่างกายก็จะเตี้ย แคระแกร็น ไม่สูง เกิดจากการหลั่งของโกร๊ทฮอร์โมนที่น้อยกว่าปกติ


นอนให้มีคุณภาพทำอย่างไร?
- ไม่ควรนอนเกิน 4 ทุ่ม
- นอนหลับให้สนิท ไม่ตื่นกลางดึก ไม่งัวเงียระหว่างตื่นนอน
- จัดห้องนอนให้อยู่ในความมืดสนิท อย่าให้มีแสงรบวนเวลานอน
- หลีกเลี่ยงคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต่างๆ ประเภท ทีวี โทรศัพท์ หรือปิดมือถือระหว่างนอน
- จัดบรรยากาศของห้องให้น่าพักผ่อน

วงจรของการนอนเป็นอย่างไร?
การนอนของคนเรา จะอยู่ประมาณ 4-6 Cycles ต่อคืน แบ่งเป็น
1.REM (Rapid Eye Movement) ระยะหลับตื้น มีการฝัน อาการลูกตาเคลื่อนไหว กรอกตาไปมา
2.NON-REM (Non–Rapid Eye Movement) ไม่มีอาการเคลื่อนไหวของลูกตา
กินระยะเวลา 1-2 ชม. แบ่งเป็น 4 ระยะ
- ระยะ 1 และ ระยะ 2 หลับๆ ตื่นๆ ปลุกง่าย
- ระยะ 3 และ ระยะ 4 หลับลึก ปลุกยาก
ฮอร์โมนเมลาโทนิน?

Melatonin เมลาโทนินคืออะไร?
เมลาโทนิน คือฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการหลับ เป็นสารที่หลั่งจากต่อมไพเนียล (Pineal) ที่อยู่ในสมอง โดยทำงานสัมพันธ์กับการมองเห็นของดวงตา ในช่วงเวลากลางวันแสงจะมีความเข้มข้นสูง และคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจะมีพลังงานที่สูงมาก แต่จะลดลงเมื่อถึงเวลากลางคืน ความเข้มข้นของแสงในเวลากลางวันและกลางคืน จะกระตุ้นให้ต่อมไพเนียล หลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินออกมา
ฮอร์โมนเมลาโทนินจะหลั่งออกมามากสุด ตอนช่วงประมาณ 2-4 ทุ่ม ร่างกายจะรู้สึกง่วง แต่คนส่วนใหญ่ในเมือง จะไม่ค่อยอยากนอน เพราะแสงไฟในเวลากลางคืน และความเครียดส่วนตัวของแต่ละบุคคล
ฮอร์โมนเมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญมาก เปรียบเสมือน เครื่องดนตรีชิ้นแรกในวงออร์เคสตรา ที่เริ่มต้นบรรเลงก่อน และตามด้วยโกร๊ทฮอร์โมนและฮอร์โมนอื่นๆ ตามมา
หน้าที่ของฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin)
มีบทบาทที่สำคัญ 3 หน้าที่
1.ช่วยควบคุมการหลับการตื่น
2.ช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ
3.เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ
เมลาโทนินแบบไหนที่เหมาะกับเรา?
1. แบบอมใต้ลิ้น
- ออกฤทธิ์เร็ว
- แต่ระยะเวลาสั้นกว่า
- ออกฤทธิ์ 10-15 นาที
- อยู่ได้ประมาณ 2-4 ชม.
2. แบบทาน
- ออกฤทธิ์ช้ากว่าแบบอมใต้ลิ้น
- แต่อยู่ได้นานกว่า
- ออกฤทธิ์ภายใน 1-2 ชม.
- ออกฤทธิ์นานประมาณ 6-7 ชั่วโมง
เมลาโทนิน จะออกฤทธิ์ได้ดี ก็ต่อเมื่อร่างกายเข้าสู่โหมดของการเตรียมพร้อมที่จะนอนแล้วเท่านั้น!
หลายๆ ท่านมีความเชื่อว่า เมลาโทนินออกฤทธิ์เหมือนยานอนหลับ จึงคาดหวังประสิทธิภาพว่าจะช่วยให้นอนหลับได้เลย หากคุณยังไม่ยอมเข้านอน ลุกขึ้นไปทำงาน เล่นมือถือ เล่นเกมส์ ก็จะทำให้เมลาโทนินนั้นออกฤทธิ์ได้ไม่ดีด้วยเช่นกัน
สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีภาวะฮอร์โมนคอร์ติซอลที่สูงเกินไป (ในช่วงเวลาตอนกลางคืน) การทานเมลาโทนินนั้นจะตอบสนองการทำงานได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับบางรายที่มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) ที่สูงเกินไป ควรไปรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้า ให้หายเป็นปกติเสียก่อน มิเช่นนั้นการทานเมลาโทนินก็จะไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่นั่นเอง
Growth Hormone ฮอร์โมนแห่งความหนุ่มสาว
โกร๊ทฮอร์โมน เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า มีหน้าที่ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย และจะหลั่งมากสูงสุดที่สุดในชีวิต คือช่วงอายุประมาณ 10-20 ปี
มีบทบาทที่สำคัญ 3 หน้าที่
1.ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและการแบ่งตัวของเซลล์
2.ช่วยสลายไขมัน
3.กระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ
โกร๊ทฮอร์โมน จะหลั่งมากที่สุดในช่วงตอนนอน หลังจากหลับสนิท หรือหลับลึกไปแล้ว โดยจะออกฤทธิ์สูงสุดคือช่วงเวลาตอนเที่ยงคืนถึงตีหนึ่ง และหลั่งอีกครั้งในช่วงเวลาสั้น ตอนตีสี่ถึงหกโมงเช้า ดังนั้นคนที่นอนหลับไม่เป็นเวลา นอนดึก จะทำให้โกร๊ทฮอร์โมนไม่หลั่ง จนทำให้มีปัญหาหน้าแก่ก่อนวัย
นอนอย่างไรให้หน้าเด็ก?
- เข้านอนก่อนสี่ทุ่ม
- นอนให้เป็นเวลา
- ออกกำลังกายให้หนักและหักโหม เพื่อกระตุ้นโกร๊ทฮอร์โมน (ไม่เหมาะกับคนไข้ที่เป็นโรคต่อมหมวกไตล้า adrenal fatigue) เพราะจะทำให้ร่างกายยิ่งดึงพลังงานไปจากร่างกาย ทำให้อ่อนล้า และมีความเครียดมากกว่าเดิม
- ทาน ผัก ผลไม้ สด หรืออาหารออร์แกนิค
- มีความเครียดเล็กน้อย (ช่วยกระตุ้นโกร๊ทฮอร์โมนได้เป็นอย่างดี)
- อดอาหารเย็น (ร่างกายเกิดความเครียดเล็กน้อย เพื่อให้ร่างกายไปกระตุ้นโกร๊ทฮอร์โมน)
- เสริมฮอร์โมนธรรมชาติ หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตของมวลกล้ามเนื้อ เช่น ฮอร์โมนเพศต่างๆ ประเภทเทสโทสเตอโรน เอสโตรเจน ชนิดทา การให้ฮอร์โมนไทรอยด์ หรือเมลาโทนิน
- ทาครีมบำรุงผิวหน้า
ขอขอบคุณหลักสูตร สาขาวิชาวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ (Anti Aging)